หมวด1. การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ประเด็น1.1. การกำหนดนโยบายห้องสมุดสีเขียว/สำนักงานสีเขียว
ตัวชี้วัด1.1.1. มีบริบทองค์กรและขอบเขตของการบริหารจัดการห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด1.1.2. มีนโยบายห้องสมุดสีเขียวและ สำนักงานสีเขียว ที่สอดคล้องและ ครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์ ห้องสมุด สีเขียวและสำนักงานสีเขียว โดยแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ในด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด1.1.3. การกำหนดนโยบายห้องสมุดสีเขียวและสิ่งแวดล้อม โดยผู้บริหารระดับสูง
ตัวชี้วัด1.1.4. มีการกำหนดแผนการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว และสำนักงานสีเขียวประจำปี
ตัวชี้วัด1.1.5. มีการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ชัดเจน ด้านห้องสมุด และด้านการใช้ทรัพยากรพลังงาน และของเสีย และปริมาณก๊าซเรือนกระจก และมีหลักฐาน การลงนามอนุมัติและวันที่ประกาศใช้ อย่างชัดเจนและเป็นปัจจุบัน
ตัวชี้วัด1.1.6. มีการกำหนดให้งานห้องสมุดสีเขียวและด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นงานประจำของหน่วยงาน
ตัวชี้วัด1.1.7. มีการกำหนดนโยบายลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก สอดคล้องกับ นโยบายขององค์กร หรือนโยบายของประเทศ หรือนโยบายตามบริบทสากล
ประเด็น1.2. คณะทำงานห้องสมุดสีเขียว/คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด1.2.1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานห้องสมุด สีเขียว ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการด้านห้องสมุด และคณะกรรมการด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด1.2.2. ร้อยละของคณะกรรมการหรือ ทีมงานห้องสมุด สีเขียว ด้านห้องสมุด ที่ดำเนินงานตามบทบาท หน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
ประเด็น1.3. การทบทวนฝ่ายบริหาร
ตัวชี้วัด1.3.1. การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร
ตัวชี้วัด1.3.2. มีการกำหนดวาระการประชุม และทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร
ประเด็น1.4. การระบุประเด็นปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด1.4.1. กิจกรรมทั้งหมดของสำนักงาน ภายใต้ขอบเขตการขอการรับรอง สำนักงานสีเขียว จะต้องได้รับการระบุ และประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด1.4.2. การวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
ประเด็น1.5. การตรวจประเมินภายใน (สำหรับหน่วยงานต่ออายุ)
ตัวชี้วัด1.5.1. การวางแผนและดำเนินการตรวจ ประเมินภายใน ด้านห้องสมุด(ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นไปตาม เกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว)
ประเด็น1.6. กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัด1.6.1. มีการรวบรวมกฎหมาย สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยที่ เกี่ยวข้องกับสำนักงาน
ตัวชี้วัด1.6.2. ประเมินความสอดคล้องของ กฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการ สิ่งแวดล้อมของสำนักงาน
ประเด็น1.7. ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก
ตัวชี้วัด1.7.1. การเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมในสำนักงาน
ตัวชี้วัด1.7.2. ปริมาณก๊าซเรือนกระจก
ตัวชี้วัด1.7.3. ร้อยละของบุคลากรมีความเข้าใจ และการรับรู้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงาน
ประเด็น1.8. แผนงานโครงการที่นำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด1.8.1. การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการดำเนินการ
ตัวชี้วัด1.8.2. ผลสำเร็จของวัตถุประสงค์และ เป้าหมาย แนวทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ประเด็น1.9. การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน (สำหรับหน่วยงานต่ออายุและขอยกระดับ สำนักงานสีเขียว)
ตัวชี้วัด1.9.1. การวางแผนและดำเนินการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายใน สำนักงาน
หมวด2. การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก
ประเด็น2.1. การอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ
ตัวชี้วัด2.1.1. กำหนดแผนการฝึกอบรม ดำเนินการอบรม การประเมินผล และบันทึกประวัติการฝึกอบรม
ตัวชี้วัด2.1.2. กำหนดผู้รับผิดชอบด้านการ อบรมแต่ละหลักสูตรมีความเหมาะสม
ประเด็น2.2. การรณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่บุคลากร
ตัวชี้วัด2.2.1. มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางสื่อสาร เรื่องห้องสมุดสีเขียว และแนวทางสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน
ตัวชี้วัด2.2.2. มีการรณรงค์สื่อสารและให้ความรู้ ตามที่กำหนดในข้อ 2.2.1
ตัวชี้วัด2.2.3. ร้อยละความเข้าใจนโยบายและการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว และสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (สุ่ม อย่างน้อย 4 คน) โดยจะต้องสอบถาม บุคลากรแต่ละคนอย่างน้อยตามข้อ 2.2.1(1)
ตัวชี้วัด2.2.4. มีช่องทางรับข้อเสนอแนะ/ ข้อคิดเห็นด้านห้องสมุดสีเขียว และ นำมาปรับปรุงแก้ไข
หมวด3. การจัดการทรัพยากรสารสนเทศและการให้บริการห้องสมุดสีเขียว
ประเด็น3.1. จัดการทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ให้เพียงพอและพร้อมใช้
ตัวชี้วัด3.1.1. จัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่ เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัด3.1.2. ปริมาณทรัพยากรสารสนเทศ ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และ เรื่องที่เกี่ยวข้อง เพิ่มขึ้นทุกปี อย่างน้อย ปีละ 100 รายชื่อ
ตัวชี้วัด3.1.3. จัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศ ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและ เรื่องที่เกี่ยวข้อง ให้พร้อมใช้และ สามารถค้นคืนได้โดยง่าย
ประเด็น3.2. การให้บริการห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด3.2.1. ส่งเสริมการให้บริการและการใช้ ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัด3.2.2. จัดพื้นที่บริการ ให้สอดคล้องกับการเป็นห้องสมุด สีเขียว
หมวด4. การส่งเสริมการเรียนรู้
ประเด็น4.1. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้รับบริการ บุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัด4.1.1. จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อม ให้กับกลุ่มเป้าหมาย
ตัวชี้วัด4.1.2. การมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายในกิจกรรมส่งเสริมการ เรียนรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด4.1.3. ความถี่และความสม่ำเสมอใน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของ ห้องสมุดสีเขียว
ตัวชี้วัด4.1.4. จัด Green Corner หรือพื้นที่ ส่งเสริมการเรียนรู้ของห้องสมุดสีเขียว โดยแสดงข้อมูลต่อไปนี้และมีการ ปรับปรุงข้อมูลเป็นประจำทุกเดือนเป็น อย่างน้อย
ประเด็น4.2. ประเมินผลการเรียนรู้
ตัวชี้วัด4.2.1. ร้อยละของจำนวนกิจกรรมที่มีการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการวัดความรู้
ตัวชี้วัด4.2.2. ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วม กิจกรรมที่ผ่านการประเมินผลการ เรียนรู้ ด้านการวัดความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม (เกณฑ์การวัดความรู้ พิจารณาจากคะแนนผ่านที่ร้อยละ 60)
ตัวชี้วัด4.2.3. ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วม กิจกรรมที่มีผลประเมินด้านพฤติกรรมในเชิงบวกหลังเข้าร่วมกิจกรรม โดยจัด กิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย อย่างน้อย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบุคลากร และกลุ่ม ผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัด4.2.4. การปรับปรุงกิจกรรมส่งเสริม การเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง
หมวด5. เครือข่ายความร่วมมือ
ประเด็น5.1. หน่วยงานความร่วมมือ
ตัวชี้วัด5.1.1. มีความร่วมมือกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับด้านการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด5.1.2. มีความร่วมมือในการดำเนินงาน ห้องสมุดสีเขียว ร่วมกับหน่วยงานด้าน นโยบาย/การบริหาร หน่วยงานด้าน กายภาพ ด้านวิจัย และด้านการศึกษา
ประเด็น5.2. กิจกรรมความร่วมมือ
ตัวชี้วัด5.2.1. กิจกรรมความร่วมมือด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด5.2.2. จำนวนหน่วยงานต่อปี ที่ได้รับการขยายผลการจัดกิจกรรมห้องสมุดสีเขียว เช่น โรงเรียน ชุมชน หรือ หน่วยงานต่างๆ
หมวด6. การใช้ทรัพยากรและพลังงาน
ประเด็น6.1. การใช้น้ำ
ตัวชี้วัด6.1.1. มาตรการหรือแนวทางใช้น้ำมีความเหมาะสมกับสำนักงาน
ตัวชี้วัด6.1.2. มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
ตัวชี้วัด6.1.3. ร้อยละของการปฏิบัติตาม มาตรการประหยัดน้ำในพื้นที่ทำงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรใน พื้นที่)
ประเด็น6.2. การใช้พลังงาน
ตัวชี้วัด6.2.1. มาตรการหรือแนวทางการใช้ ไฟฟ้าเหมาะสมกับสำนักงาน
ตัวชี้วัด6.2.2. มีการจัดทำข้อมูลการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
ตัวชี้วัด6.2.3. ร้อยละของการปฏิบัติตาม มาตรการประหยัดไฟฟ้าในพื้นที่ทำงาน
ตัวชี้วัด6.2.4. มาตรการหรือแนวทางการใช้ น้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางที่ เหมาะสมกับสำนักงาน
ตัวชี้วัด6.2.5. มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำมัน เชื้อเพลิงต่อหน่วยเปรียบเทียบกับ เป้าหมาย
ตัวชี้วัด6.2.6. มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมี การกำหนดพื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสม และปฏิบัติตามที่กำหนด
ตัวชี้วัด6.2.7. การจัดการมลพิษทางอากาศ จากการก่อสร้าง ปรับปรุง อาคารหรือ อื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อบุคลากร
ประเด็น6.3. การใช้ทรัพยากรอื่นๆ
ตัวชี้วัด6.3.1. มาตรการหรือแนวทางการใช้ กระดาษที่เหมาะสมกับสำนักงาน
ตัวชี้วัด6.3.2. มีการจัดทำข้อมูลการใช้กระดาษ ต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
ตัวชี้วัด6.3.3. ร้อยละของการปฏิบัติตาม มาตรการประหยัดกระดาษในพื้นที่ ทำงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของ บุคลากรในพื้นที่)
ตัวชี้วัด6.3.4. มาตรการหรือแนวทางการใช้ หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุ อุปกรณ์เหมาะสมกับสำนักงาน
ตัวชี้วัด6.3.5. ร้อยละของการดำเนินตาม มาตรการประหยัดการใช้หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์ สำนักงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของ บุคลากรในพื้นที่)
ประเด็น6.4. การประชุมและการจัดนิทรรศการ
ตัวชี้วัด6.4.1. ร้อยละของการใช้สื่อ อิเล็กทรอนิกส์ในการส่งข้อมูลเพื่อ เตรียมการประชุม ได้แก่ QR code, Email, Social Network, Intranet เป็นต้น
ตัวชี้วัด6.4.2. การจัดการประชุมและ นิทรรศการที่มีการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากร - พลังงาน และลดของเสียที่เกิดขึ้น
หมวด7. การจัดการของเสีย
ประเด็น7.1. การจัดการของเสีย
ตัวชี้วัด7.1.1. มีการดำเนินงานตามแนว ทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัด ขยะอย่างเหมาะสม
ตัวชี้วัด7.1.2. การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ หรือนำกลับมาใช้ใหม่ ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง
ประเด็น7.2. การจัดการน้ำเสีย
ตัวชี้วัด7.2.1. การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และคุณภาพน้ำทิ้งจะต้องอยู่ใน มาตรฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัด7.2.2. การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย
หมวด8. สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย
ประเด็น8.1. อากาศในสำนักงาน
ตัวชี้วัด8.1.1. การควบคุมมลพิษทางอากาศใน สำนักงาน
ตัวชี้วัด8.1.2. มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนดพื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสม และปฏิบัติตามที่กำหนด
ตัวชี้วัด8.1.3. การจัดการมลพิษทางอากาศ จากการก่อสร้าง ปรับปรุง อาคารหรือ อื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อบุคลากร
ประเด็น8.2. แสงในสำนักงาน
ตัวชี้วัด8.2.1. มีการตรวจวัดความเข้มของแสง สว่าง (โดยอุปกรณ์การตรวจวัดความ เข้มของแสงสว่างที่ได้มาตรฐาน) และ ดำเนินการแก้ไขตามที่มาตรฐาน กำหนด
ประเด็น8.3. เสียง
ตัวชี้วัด8.3.1. การควบคุมมลพิษทางเสียง ภายในอาคารสำนักงาน
ตัวชี้วัด8.3.2. การจัดการเสียงดังจากการ ก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ใน สำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
ประเด็น8.4. ความน่าอยู่
ตัวชี้วัด8.4.1. มีการวางแผนจัดการความน่า อยู่ของสำนักงาน
ตัวชี้วัด8.4.2. ร้อยละการใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงานกำหนด
ตัวชี้วัด8.4.3. ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ ต่างๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อน หย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ ทำงานเป็นต้น
ตัวชี้วัด8.4.4. มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค และดำเนินการได้ตามที่กำหนด
ประเด็น8.5. การเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน
ตัวชี้วัด8.5.1. การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและ อพยพหนีไฟตามแผนที่กำหนด
ตัวชี้วัด8.5.2. มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและ เหมาะสม และร้อยละของพนักงานที่ เข้าใจแผนฉุกเฉิน (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)
ตัวชี้วัด8.5.3. ความเพียงพอและการพร้อมใช้ งานของอุปกรณ์ระบบดับเพลิงและ ป้องกันอัคคีภัย และระบบสัญญาณแจ้ง เหตุเพลิงไหม้ และร้อยละของพนักงานทราบวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ ดังกล่าว (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)
หมวด9. การจัดซื้อและจัดจ้าง
ประเด็น9.1. การจัดซื้อสินค้า
ตัวชี้วัด9.1.1. การจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด9.1.2. ร้อยละของการจัดซื้อสินค้า ประเภทวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด9.1.3. ร้อยละของปริมาณและประเภท ของวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม
ประเด็น9.2. การจัดจ้าง
ตัวชี้วัด9.2.1. ร้อยละของการจัดจ้างหน่วยงาน หรือบุคคลที่มีการดำเนินงานที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด9.2.2. ร้อยละของการตรวจสอบด้าน การดูแลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ปฏิบัติงาน ของหน่วยงานหรือบุคคลที่เข้ามา ดำเนินการ เช่น ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างช่วง แม่บ้าน รปภ. พนักงานส่งเอกสาร เป็นต้น
ตัวชี้วัด9.2.3. ร้อยละของการเลือกใช้บริการที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (นอก สำนักงาน) ได้แก่ โรงแรม สถานที่จัด งาน หรืออื่นๆ ที่ได้มีการขึ้นทะเบียน การบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม