arcnpu@npu.ac.th +66 0 4258 7285

(GL) :Green Library ห้องสมุดสีเขียว

หมวดที่ 1: การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ประเด็น 1.1: การกำหนดนโยบายห้องสมุดสีเขียว

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
1.1.1: มีบริบทองค์กรและขอบเขตของ การบริหารจัดการห้องสมุดที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม
(1) มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของห้องสมุดทั้งหมด ทั้งส่วนของสำนักงานและพื้นที่บริการ
(2) มีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของ สำนักงานและห้องสมุด
1.1.2: มีนโยบายห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียวที่สอดคล้องและครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์ห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียวโดยแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ในด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ด้านห้องสมุด
(1) มีนโยบายการ บริหารจัดการ ห้องสมุดสีเขียวและการปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง
(2) มีนโยบายการจัดการและให้บริการ ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง ให้เพียงพอ และพร้อมใช้
(3) มีนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่อง ที่เกี่ยวข้อง
(4) มีนโยบายการสร้างเครือข่ายความ ร่วมมือ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  • ประกาศนโยบายการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว เอกสารแนบ(GL) 1.1.2
1.1.3: การกำหนดนโยบาย โดยผู้บริหารระดับสูง
(1) นโยบายสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียวจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
(2) มีการระบุวันที่การประกาศใช้ นโยบายสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียวอย่างชัดเจน
(3) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้อง สามารถอธิบายถึงวัตถุประสงค์และ จุดมุ่งหมายของการเป็นสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว
(4) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องมีส่วน ในการติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายห้องสมุดสีเขียว
  • ประกาศนโยบายการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว เอกสารแนบ(GL) 1.1.3
1.1.4: มีการกำหนดแผนการดำเนินงานประจำปี
(1) รายละเอียดของแผนจะต้องระบุการดำเนินงานครบทุกหมวด
(2) มีการกำหนดเวลาหรือความถี่ของการดำเนินงานแต่ละหมวด
(3) มีการกำหนดแผนดำเนินงานเป็น ลายลักษณ์อักษร และได้รับการ อนุมัติจากผู้บริหาร
  • แผนการดำเนินงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว (Green Library) และรักษ์สิ่งแวดล้อม เอกสารแนบ(GL)1.1.4
1.1.5: การกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ชัดเจน และมีหลักฐานการลงนามอนุมัติและวันที่ประกาศใช้อย่างชัดเจนและเป็นปัจจุบัน
(1) การจัดการและการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
(2) การส่งเสริมการเรียนรู้เรื่อง ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และก๊าซเรือนกระจก
(3) การจัดกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือ
(4) ความพึงพอใจของผู้รับบริการทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
  • ประกาศตัวชี้วัดและเป้าหมายด้านการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว เอกสารแนบ(GL) 1.1.5
1.1.6: มีการกำหนดให้งานห้องสมุดสีเขียว ทั้งด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นงานประจำของหน่วยงาน
(1) มีการกำหนดแผนงานห้องสมุดสีเขียวทั้งด้านห้องสมุด และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้เป็น แผนงานประจำของห้องสมุด โดย ดำเนินการต่อเนื่องทุกปี
(2) มีการสรุปปัญหาและแนวทางการ ปรับปรุง เป็นข้อมูลเพื่อกำหนด แผนงานห้องสมุดสีเขียวในปีต่อไป
(3) มีการบูรณาการงานด้านห้องสมุด และงานด้านทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม ภายใต้แผนงานพัฒนา ห้องสมุดสีเขียว
(4) กำหนดให้งานห้องสมุดสีเขียว เป็นภาระงานของบุคลากรที่ต้องได้รับการประเมิน
  • แผนยุทธศาสตร์ 4 ปี 2567-2570 เอกสารแนบ(GL) 1.1.6(1)
  • แผนการดำเนินงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว (Green Library) และรักษ์สิ่งแวดล้อม เอกสารแนบ(GL) 1.1.6(3)
  • คำสั่งมอบหมายบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ เอกสารแนบ(GL) 1.1.6(4)
  • คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเครือข่ายความร่วมมือคณะทำงานระหว่างห้องสมุด เอกสารแนบ(GL) 1.1.6(4)
1.1.7: มีการกำหนดนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สอดคล้องกับนโยบายขององค์กร หรือนโยบายของประเทศ หรือนโยบายตามบริบทสากล
(1) มีการกำหนดนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน ( Carbon Neutrality) หรือ นโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็น ศูนย์(Net Zero) ของห้องสมุด
(2) มีการกำหนดเป้าหมายและแผนงาน การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ระยะสั้นและระยะยาวของห้องสมุด ที่สอดคล้องกับนโยบายตามข้อ (1)
(3) มีการลด และ/หรือ ชดเชยการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก
(4) ผลการลดการปล่อยก๊าซเรือน กระจก เป็นไปตามเป้าหมายที่ กำหนดในข้อ (2)
  • ประกาศนโยบายและเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เอกสารแนบ(GL) 1.1.7(1)
  • แผนงานการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เอกสารแนบ(GL) 1.1.7(2)

ประเด็น 1.2: คณะทำงานห้องสมุดสีเขียว

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
1.2.1: มีการแต่งตั้งคณะกรรมการด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
(1) ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยงานด้านห้องสมุดและ ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็น ลายลักษณ์อักษร และลงนามอนุมัติ การแต่งตั้งคณะกรรมการหรือ ทีมงานจะต้องครอบคลุมทุกหมวด และประกอบด้วยบุคลากร/ผู้แทน จากทุกฝ่ายในหน่วยงาน
(2) กำหนดอำนาจ บทบาท หน้าที่ ความ รับผิดชอบของคณะกรรมการหรือ ทีมงาน อย่างชัดเจน
  • คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบตัวชี้วัดการประเมินด้านห้องสมุดสีเขียว (Green Library) เอกสารแนบ(GL)1.2.1
1.2.2: ร้อยละของคณะกรรมการหรือทีมงานที่ดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
การสุ่มสัมภาษณ์ถึงความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ ของประธาน คณะกรรมการ หรือทีมงาน

ประเด็น 1.3: การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
1.3.1: การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร
(1) มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม
(2) มีตัวแทนของแต่ละฝ่าย/แผนก/ส่วน งานที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในแต่ละหมวดเข้าร่วมประชุม
(3) จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมจะต้อง มากกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ที่ เป็นคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว พร้อมหลักฐานการลงนามเข้าร่วม ประชุม
(4) หากผู้ที่จะต้องเข้าประชุมไม่สามารถ เข้าร่วมได้ จะต้องมีวิธีการรายงาน ผลการประชุมให้รับทราบ พร้อมรับ ข้อเสนอแนะ
1.3.2: มีการกำหนดวาระการประชุมและทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร
(1) มีการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(2) วาระที่ 1 การติดตามผลการประชุม ทบทวนฝ่ายบริหารที่ผ่านมา
(3) วาระที่ 2 นโยบายสิ่งแวดล้อม
(4) วาระที่ 3 ความมีประสิทธิภาพของ คณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม (ความเพียงพอและ ความเหมาะสม)
(5) วาระที่ 4 การติดตามผลการ ดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การสื่อสารและข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงแนวทางการแก้ไขปรับปรุง และพัฒนา
(6) วาระที่ 5 การเปลี่ยนแปลงที่จะ ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการ ดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
(7) วาระที่ 6 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม และวิสัยทัศน์ แนวคิดของผู้บริหาร ของการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว อย่างต่อเนื่อง
(8) จัดทำรายงานการประชุมทบทวน ฝ่ายบริหาร และภาพถ่ายที่แสดงให้ เห็นว่ามีการประชุมจริง

ประเด็น 1.4: การตรวจประเมินภายใน (สำหรับหน่วยงานต่ออายุและขอยกระดับ สำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว)

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
1.4.1: การวางแผนและดำเนินการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน
(1) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจ ประเมินสำนักงานสีเขียวภายใน สำนักงาน ประกอบด้วย หัวหน้า ผู้ตรวจประเมินและผู้ตรวจประเมิน ซึ่งจะต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร การดำเนินงานสำนักงานสีเขียว และ หลักสูตรการตรวจประเมินสำนักงาน สีเขียว
(2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจ ประเมินสำนักงานสีเขียวภายใน สำนักงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(3) มีการจัดทำข้อกำหนดการตรวจ ประเมินภายในครอบคลุมทุกหมวด
(4) กำหนดผู้ตรวจประเมินภายในแต่ละ หมวดมีความเพียงพอและเหมาะสมมีความเป็นอิสระในการตรวจประเมิน อย่างชัดเจน
(5) การดำเนิ นการตรวจประเมิน สำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน ครบถ้วนทุกหมวด

หมวดที่ 2: การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก

ประเด็น 2.1: การอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
2.1.1: กำหนดแผนการฝึกอบรมดำเนินการอบรม การประเมินผล และบันทึกประวัติการฝึกอบรม
(1) ระบุหลักสูตรและความถี่การอบรมลงในแผนการฝึกอบรม โดยหลักสูตรครอบคลุมเนื้อหามีรายละเอียด อย่างน้อยดังนี้
- ความสำคัญของสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว
- การบริหารจัดการสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว และการลดปริมาณการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก
- การให้บริการที่มีคุณภาพและเป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม
- การจัดหาและการให้บริการ ทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง กับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
(2) ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนการฝึกอบรมในข้อ (1) โดยผู้รับการ อบรมจะต้องมากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละหลักสูตร
(3) ประเมินผลการฝึกอบรม เช่น ข้อสอบ หรือการประเมินขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น
(4) จัดทำประวัติการอบรมของบุคลากร
  • แบบทดสอบการฝึกอบรม-Google ฟอร์ม เอกสารแนบ(GL) 2.1.1(3)
  • ประวัติการอบรมของบุคลากร เอกสารแนบ(GL) 2.1.1(4)
  • รายชื่อผู้เข้าร่วมอบรม เอกสารแนบ(GL) 2.1.1(2)
  • หลักสูตรและแผนการฝึกอบรมประจำปี 2567 เอกสารแนบ(GL) 2.1.1(1)
  • เอกสารประกอบการอบรม 1 เอกสารแนบ(GL) 2.1.1(2)
  • เอกสารประกอบการอบรม 2 เอกสารแนบ(GL) 2.1.1(2)
2.1.2: กำหนดผู้รับผิดชอบด้านการอบรมแต่ละหลักสูตรมีความเหมาะสม
(1) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องมี ความรู้ในเนื้อหาการอบรม
(2) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องมี หลักฐานแสดงความสามารถ เช่น ประวัติ หรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
(3) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้อง เข้าใจเนื้อหาในการอบรม
(4) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องมี หลักฐานแสดงความสามารถ เช่น ใบรับรองจากหน่วยงานภายนอก หรือ ประวัติ หรือประสบการณ์ (อย่างใดอย่างหนึ่ง)
  • ประวัติวิทยากร เอกสารแนบ(GL) 2.1.2

ประเด็น 2.2: การรณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่บุคลากร

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
2.2.1: มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางสื่อสารเรื่องห้องสมุดสีเขียว
(1) กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสาร อย่างน้อย ดังนี้
- นโยบาย ห้องสมุดสีเขียวและสำนักงานสีเขียว
- ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และเรื่องที่เกี่ยวข้อง
- ความรู้ด้าน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง
- กิจกรรมห้องสมุดสีเขียว
- กิจกรรม เครือข่ายความร่วมมือ
(2) กำหนดช่องทางการสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพ สอดคล้องกับหัวข้อ การสื่อสารและองค์กร (ไม่จำกัด จำนวนช่องทาง)
(3) กำหนดกลุ่มเป้าหมายรับเรื่องสื่อสาร
(4) กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร
  • แผนการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ประจำปี พ.ศ.2567 เอกสารแนบ(GL) 2.2.1
2.2.2: มีการรณรงค์สื่อสารและให้ความรู้ตามที่กำหนดในข้อ 2.2.1
ตามที่กำหนดในข้อ 2.2.1
2.2.3: ร้อยละความเข้าใจนโยบายและการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว
โดยจะต้องสอบถาม บุคลากรแต่ละคนอย่างน้อยตามข้อ 2.2.1 (สุ่ม อย่างน้อย 4 คน)
2.2.4: มีช่องทางรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแว้ดล้อม และนำมาปรับปรุงแก้ไข
(1) มีช่องทางเพื่อรับข้อเสนอแนะ/ ข้อคิดเห็นด้านห้องสมุดสีเขียว เช่น ไลน์ เว็บไซต์เฟสบุ๊ค อีเมล์ กล่องรับ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจาก การประชุม
(2) มีผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ/ ข้อคิดเห็น
(3) มีการแสดงข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น ด้านห้องสมุดสีเขียว
(4) มีการรายงานผลการปรับปรุงจาก ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น และเสนอ ต่อผู้บริหาร
  • ช่องทางและผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ เอกสารแนบ(GL) 2.2.4(1)-(2)

หมวดที่ 3: การจัดการทรัพยากรสารสนเทศและการให้บริการห้องสมุดสีเขียว

ประเด็น 3.1: จัดการทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ให้เพียงพอและพร้อมใช้

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
3.1.1: จัดหาทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง
(1) สำรวจความต้องการของผู้รับบริการ
(2) จัดหาทรัพยากรสารสนเทศได้ตรง ตามความต้องการ และสอดคล้อง กับนโยบายของห้องสมุด
(3) ทรัพยากรสารสนเทศมีความทันสมัย
(4) ทรัพยากรสารสนเทศมีความหลากหลายเหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม
  • หนังสือขอเชิญคัดเลือกหนังสือด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเข้าห้องสมุด เอกสารแนบ(GL) 3.1.1(1)-(2)
3.1.2: ปริมาณทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพิ่มขึ้นทุกปี อย่างน้อยปีละ 100 รายชื่อ
รายชื่อทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งหมด แสดงประเภท ปีพิมพ์ และรายละเอียดบรรณานุกรมที่จำเป็น เช่น ผู้แต่ง หน่วยงานที่จัดพิมพ์ สำนักพิมพ์ ฯลฯ โดยแยกตามปีที่จัดหา และแสดงจำนวนรวมของทรัพยากรสารสนเทศที่จัดหาได้ใน แต่ละปี
3.1.3: จัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง ให้พร้อมใช้และสามารถค้นคืนได้โดยง่าย
(1) มีการจัดหมวดหมู่ กำหนดคำสำคัญ และคำศัพท์เฉพาะ เพื่อความ สะดวกในการสืบค้น
(2) ลงรายการบรรณานุกรมและบันทึก ข้อมูล หรือจัดทำรายชื่อเพื่อให้ สะดวกต่อการค้นหา
(3) จัดเตรียมทรัพยากรสารสนเทศให้ พร้อมสำหรับให้บริการ
(4) ผู้รับบริการสามารถสืบค้นและเข้าถึง ทรัพยากรสารสนเทศได้โดยง่าย

ประเด็น 3.2: การให้บริการห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
3.2.1: ส่งเสริมการให้บริการและการใช้ทรัพยากรสารสนเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและเรื่องที่เกี่ยวข้อง
(1) ประชาสัมพันธ์บริการ และแนะนำ ทรัพยากรสารสนเทศผ่านช่องทาง ต่างๆ ถึงผู้รับบริการ และหน่วยงาน เครือข่ายความร่วมมือ
(2) ตรวจสอบสภาพและจัดการทรัพยากรสารสนเทศให้พร้อม บริการอยู่เสมอ
(3) จัดทำสถิติการยืมหรือการใช้ ประโยชน์ทรัพยากรสารสนเทศ
(4) นำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมา ประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมการ ให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3.2.2: จัดพื้นที่บริการ ให้สอดคล้องกับการเป็นห้องสมุดสีเขียว
(1) สะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ
(2) ปลอดภัย
(3) ประหยัดพลังงานและทรัพยากร
(4) จัดพื้นที่บริการโดยสอดแทรกความรู้ และแนวคิดการให้บริการที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม

หมวดที่ 4: การส่งเสริมการเรียนรู้

ประเด็น 4.1: การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้รับบริการ บุคลากร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
4.1.1: จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและส่งเสริมการเรียนรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ให้กับกลุ่มเป้าหมาย
(1) การประหยัดพลังงานไฟฟ้า และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้า
(2) การประหยัดนำ้และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
(3) การคัดแยกและใช้ประโยชน์จาก ขยะหรือวัสดุเหลือใช้ การจัดการ ของเสียและมลพิษ
(4) ก๊าซเรือนกระจก
  • แผนงานจัดกิจกรรมส่งเสิมการอ่านและการรู้ เอกสารแนบ(GL) 4.1.1
4.1.2: การมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ในกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
(1) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีจำนวนมากกว่า ร้อยละ 80 ของเป้าหมายที่กำหนด
(2) กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการ ออกแบบกิจกรรม
(3) กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการ สรุปผลกิจกรรมและการนำไปใช้ประโยชน์
(4) มีการจัดทำใบประกาศหรือใบรับรองให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามเงื่อนไข ที่ห้องสมุดกำหนด
  • กิจกรรมการอบรมผู้ใช้บริการเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้สารสนเทศด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 เอกสารแนบ(GL) 4.1.2 (1)-(2)-(4)
4.1.3: ความถี่และความสม่ำเสมอในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของห้องสมุดสีเขียว
รายการกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งหมด
4.1.4: จัด Green Corner หรือพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของห้องสมุดสีเขียวโดยแสดงข้อมูลต่อไปนี้และมีการปรับปรุงข้อมูลเป็นประจำทุกเดือนเป็นอย่างน้อย
(1) นโยบายห้องสมุดสีเขียว และ สำนักงานสีเขียว (ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ มีการเปลี่ยนแปลง)
(2) ข่าวสาร กิจกรรม มาตรการ ด้าน การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ของห้องสมุด
(3) ผลการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว และแสดงข้อมูลประสิทธิภาพการใช้ พลังงานไฟฟ้า ผลการประหยัดน้ำ การประหยัดทรัพยากร และปริมาณ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
(4) สื่อความรู้ และเอกสารเผยแพร่ที่ เกี่ยวข้องกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ประเด็น 4.2: ประเมินผลการเรียนรู้

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
4.2.1: ร้อยละของจำนวนกิจกรรมที่มีการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการวัดความรู้
รายงานประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการวัดความรู้รายกิจกรรม
4.2.2: ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการวัดความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรม (เกณฑ์การวัดความรู้พิจารณาจากคะแนนผ่านที่ร้อยละ 60)
ผลการทดสอบความรู้จากการร่วมกิจกรรมเป็นรายบุคคล และสรุปจำนวนผู้ที่ผ่านการ ทดสอบความรู้(คะแนนผ่านที่ร้อยละ 60) ของแต่ละกิจกรรม
4.2.3: ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีผลประเมินด้านพฤติกรรมในเชิงบวกหลังเข้าร่วมกิจกรรม โดยจัดกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย อย่างน้อย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบุคลากร และกลุ่มผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
(1) รายงานผลประเมินด้านพฤติกรรม อย่างน้อย 2 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มบุคลากร และกลุ่มผู้รับบริการหรือกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
(2) สัมภาษณ์ผู้จัดกิจกรรม และผู้แทนที่เข้าร่วมกิจกรรม
4.2.4: การปรับปรุงกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
(1) สรุปผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมการ เรียนรู้ทั้งหมดในรอบปี
(2) มีการวิเคราะห์ปัญหา และผล ประเมินการเรียนรู้เพื่อใช้เป็นข้อมูล ในการพัฒนากิจกรรม
(3) จัดทำแผนปรับปรุงและพัฒนา กิจกรรม
(4) จัดทำรายงานผลการจัดกิจกรรม เสนอผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง

หมวดที่ 5: เครือข่ายความร่วมมือ

ประเด็น 5.1: หน่วยงานความร่วมมือ

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
5.1.1: มีความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
(1) เครือข่ายห้องสมุดสีเขียว
(2) ชมรมห้องสมุดสีเขียว
(3) หน่วยงานภายในองค์กร
(4) หน่วยงานภายนอกองค์กร
  • กิจกรรมสร้างเครือข่าย NPU Green Library รักษ์โลก เอกสารแนบ(GL) 5.1.1(3)-(4)
  • แบบตอบรับการเข้าร่วมเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว เอกสารแนบ(GL) 5.1.1(1)
  • แบบตอบรับและรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมเครือข่าย เอกสารแนบ(GL) 5.1.1(3)-(4)
  • ใบสมัครสมาชิกชมรมห้องสมุดสีเขียว เอกสารแนบ(GL) 5.1.1(2)
  • ใบเสร็จรับเงินชมรมห้องสมุดสีเขียว-สมาชิกเลขที่2556 เอกสารแนบ(GL) 5.1.1(2)
  • ภาพประกอบการประชุมเครือข่าย NPU Green Library รักษ์โลก เอกสารแนบ(GL) 5.1.1(3)-(4)
  • หนังสือเชิญเข้าร่วมเครือข่ายและแบบตอบรับภายนอกองค์กร เอกสารแนบ(GL) 5.1.1(4)
  • หนังสือเชิญเข้าร่วมเครือข่ายและแบบตอบรับภายในองค์กร เอกสารแนบ(GL) 5.1.1(3)
5.1.2: มีความร่วมมือในการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว ร่วมกับหน่วยงานด้านนโยบาย/การบริหาร หน่วยงานด้านกายภาพ ด้านวิจัย และด้านการศึกษา
(1) หน่วยงานด้านนโยบาย/บริหาร หรือ หน่วยบริหารงานกลาง เพื่อ ประสานความร่วมมือด้านนโยบาย แผนงาน งบประมาณ การจัดซื้อจัด จ้าง การจัดการขยะ เป็นต้น
(2) หน่วยงานด้าน กายภาพ เพื่อ ประสานความร่วมมือด้านอาคาร สถานที่ ระบบงานไฟฟ้า ระบบงาน อาคาร ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น
(3) หน่วยงานวิจัย เพื่อประสานความ ร่วมมือในการนำเทคโนโลยีหรือ ผลงานวิจัยมาประยุกต์ใช้เพื่อการ พัฒนาห้องสมุดสีเขียว
(4) หน่วยงานด้านการศึกษา หรือหน่วย การเรียนการสอน เพื่อประสาน ความมือในการส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
  • ภาพประกอบการประชุมเครือข่าย NPU Green Library รักษ์โลก เอกสารแนบ(GL) 5.1.2
  • รายงานการประชุมเครือข่ายNPUGreenLibrayรักษ์โลก เอกสารแนบ(GL) 5.1.2
  • รายงานผลการดำเนินงาน DIY ครั้งที่ 2.2567 ร่วมกับกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากขยะรีไซเคิล เอกสารแนบ(GL) 5.1.2(1)
  • รายงานสรุปโครงการARC Open House 2024 ร่วมกับคณะศิลปฯ เอกสารแนบ(GL) 5.1.2(4)
  • หนังสือเชิญเข้าร่วมเครือข่ายพร้อมแบบตอบรับกลุ่มแปรรูปฯ เอกสารแนบ(GL) 5.1.2(1)
  • หนังสือเชิญเข้าร่วมเครือข่ายพร้อมแบบตอบรับคณะเกษตรฯ เอกสารแนบ(GL) 5.1.2(3)
  • หนังสือเชิญเข้าร่วมเครือข่ายพร้อมแบบตอบรับคณะศิลปฯ เอกสารแนบ(GL) 5.1.2(4)
  • หนังสือเชิญเข้าร่วมเครือข่ายพร้อมแบบตอบรับรร.ศรีฯ เอกสารแนบ(GL) 5.1.2(4)
  • หนังสือเชิญเข้าร่วมเครือข่ายพร้อมแบบตอบรับรร.สาธิตฯ เอกสารแนบ(GL) 5.1.2(4)
  • หนังสือเชิญเข้าร่วมเครือข่ายพร้อมแบบตอบรับสถาบันวิจัยฯ เอกสารแนบ(GL) 5.1.2(3)
  • หนังสือเชิญเข้าร่วมเครือข่ายพร้อมแบบตอบรับสนง.อธิการฯ เอกสารแนบ(GL) 5.1.2(1)
  • หนังสือเชิญเข้าร่วมเครือข่ายพร้อมแบบตอบรับสนง.อธิการฯ เอกสารแนบ(GL) 5.1.2(2)
  • หนังสือเชิญเข้าร่วมเครือข่ายพร้อมแบบตอบรับอบต.ฯ เอกสารแนบ(GL) 5.1.2(1)

ประเด็น 5.2: กิจกรรมความร่วมมือ

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
5.2.1: กิจกรรมความร่วมมือด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
(1) เข้าร่วมกิจกรรมที่หน่วยงานความ ร่วมมือจัด
(2) จัดกิจกรรมและเชิญหน่วยงานความ ร่วมมือเข้าร่วม
(3) เป็นวิทยากรหรือเป็นพี่เลี้ยงให้กับ หน่วยงานอื่น
(4) เป็นสถานที่ศึกษาดูงานด้านห้องสมุด สีเขียว
  • ประวัติการเป็นวิทยากร เอกสารแนบ(GL) 5.2.1(3)
  • ประวัติการอบรมของบุคลากร เอกสารแนบ(GL) 5.2.1(1)
  • รายงานผลการดำเนินงาน DIY ครั้งที่ 2.2567 ร่วมกับกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากขยะรีไซเคิล เอกสารแนบ(GL) 5.2.1(2)
  • รายงานสรุปโครงการARC Open House 2024 ร่วมกับคณะศิลปฯ เอกสารแนบ(GL) 5.2.1(2)
5.2.2: จำนวนหน่วยงานต่อปี ที่ได้รับการขยายผลการจัดกิจกรรมห้องสมุดสีเขียว เช่น โรงเรียน ชุมชน หรือหน่วยงานต่างๆ
(1) เอกสารโครงการขยายผลการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียวสู่ชุมชน เช่น โรงเรียน ชุมชน หรือหน่วยงาน ต่างๆ
(2) รายงานผลการดำเนินงาน พร้อมภาพประกอบ
(3) ผลการประเมินความพึงพอใจของหน่วยงานที่ได้รับการขยายผลในรอบปีที่ดำเนินงาน หรือเมื่อสิ้นสุด โครงการ
  • กิจกรรมสร้างเครือข่าย NPU Green Library รักษ์โลก เอกสารแนบ(GL) 5.2.2