arcnpu@npu.ac.th +66 0 4258 7285

(GO) :Green Office สำนักงานสีเขียว

หมวดที่ 1: การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ประเด็น 1.1: การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
1.1.1: มีบริบทองค์กรและขอบเขตของ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน
(1) มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของสำนักงาน
(2) มีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของสำนักงาน
1.1.2: มีนโยบายfด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องและครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวโดยแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง
(1) การปรับปรุงระบบการจัดการ สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
(2) การควบคุม ป้องกัน ลดผลกระทบ ด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และ มลพิษ/ของเสีย รวมไปถึงการจัดซื้อ จัดจ้าง และบริการที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก
(3) การปฏิบัติตามกฎหมายและเกณฑ์ การเป็นสำนักงานสีเขียวของกรม ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(4) การสร้างความรู้และความตระหนัก ด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้เกี่ยวข้อง
  • นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม เอกสารแนบ(GO)1.1.2
  • ประกาศนโยบายการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว เอกสารแนบ(GO) 1.1.2
1.1.3: การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมโดยผู้บริหารระดับสูง
(1) นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
(2) มีการระบุวันที่การประกาศใช้ นโยบายสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียวอย่างชัดเจน
(3) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้อง สามารถอธิบายถึงวัตถุประสงค์และ จุดมุ่งหมายของการเป็นสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว
(4) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องมีส่วน ในการติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายสำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว
  • การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมจากผู้บริหารระดับสูง เอกสารแนบ(GO)1.1.3
  • ประกาศนโยบายการพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว เอกสารแนบ(GO) 1.1.3
1.1.4: มีการกำหนดแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวประจำปี
(1) รายละเอียดของแผนจะต้องระบุการดำเนินงานครบทุกหมวด
(2) มีการกำหนดเวลาหรือความถี่ของการดำเนินงานแต่ละหมวด
(3) มีการกำหนดแผนดำเนินงานเป็น ลายลักษณ์อักษร และได้รับการ อนุมัติจากผู้บริหาร
  • มีการกำหนดแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวประจำปี เอกสารแนบ(GO)1.1.4
  • แผนการดำเนินงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว (Green Library) และรักษ์สิ่งแวดล้อม เอกสารแนบ(GO) 1.1.4
1.1.5: การกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ชัดเจนด้านการใช้ทรัพยการ พลังงานและของเสียและปริมาณก๊าซเรือนกระจก
(1) การใช้ไฟฟ้า
(2) การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
(3) การใช้น้ำ
(4) การใช้กระดาษ
(5) ปริมาณของเสีย
(6) ปริมาณก๊าซเรือนกระจก
  • ประกาศเป้าหมายและตัวชี้วัดการใช้ทรัพยากร พลังงาน ของเสีย และปริมาณก๊าซเรือนกระจก เอกสารแนบ(GO) 1.1.5

ประเด็น 1.2: คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
1.2.1: มีการแต่งตั้งคณะกรรมการด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
(1) ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยงานด้านห้องสมุดและ ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็น ลายลักษณ์อักษร และลงนามอนุมัติ การแต่งตั้งคณะกรรมการหรือ ทีมงานจะต้องครอบคลุมทุกหมวด และประกอบด้วยบุคลากร/ผู้แทน จากทุกฝ่ายในหน่วยงาน
(2) กำหนดอำนาจ บทบาท หน้าที่ ความ รับผิดชอบของคณะกรรมการหรือ ทีมงาน อย่างชัดเจน
  • มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม เอกสารแนบ(GO)1.2.1
  • คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบตัวชี้วัดการประเมินด้านห้องสมุดสีเขียว (Green Library) เอกสารแนบ(GO) 1.2.1
1.2.2: ร้อยละของคณะกรรมการ หรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่รับผิดชอบประเมินจากการสุ่มสอบถามดังนี้
(1) ประธาน/หัวหน้า
(2) คณะกรรมการหรือทีมงานทางด้าน
สิ่งแวดล้อมที่รับผิดชอบทุกหมวด(สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจประเมินแต่ละหมวดสุ่มสอบถามได้)

ประเด็น 1.3: การระบุประเด็นปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
1.3.1: กิจกรรมทั้งหมดของสำนักงานภายใต้ขอบเขตการขอการรับรองสำนักงานสีเขียวจะต้องได้รับการระบุ
และประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม
(1) มีการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงานทั้งทางตรง และทางอ้อม ครบถ้วนตามกิจกรรม ขอบเขตและบริบทของสำนักงาน
(2) มีการกำหนดผู้รับผิดชอบที่มีความรู้ความเข้าใจ
(3) ระบุการใช้พลังงาน ทรัพยากรวัตถุดิบ มลพิษ ของเสีย ของแต่ละกิจกรรมจะต้องครบถ้วน
(4) ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมทางตรงและทางอ้อมครบถ้วน
(5) ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมสภาวะปกติ
ผิดปกติ และฉุกเฉินครบถ้วน
(6) มีการพิจารณากฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นๆ อย่างครบถ้วนและถูกต้อง
(7) การประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม
(8) มีหลักฐานการกำหนดระยะเวลาในการทบทวนการระบุประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรและ
พลังงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(9) กรณีมีการปรับแผน/กิจกรรม หรือมีกิจกรรมเพิ่มเติม (เช่น มีแผนที่จะก่อสร้างอาคาร หรือเพิ่มเติมกิจกรรม
ของสำนักงานในอนาคตอันใกล้ เป็นต้น) จะต้องระบุกิจกรรมดังกล่าวด้วย (ถ้ามี)
  • ทะเบียนระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษ เอกสารแนบ(GO) 1.3.1(1)-(7)
  • แผนการดำเนินงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว (Green Library) และรักษ์สิ่งแวดล้อม เอกสารแนบ(GO) 1.3.1(8)
1.3.2: การวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
(1) มีสรุปรายการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
(2) กำหนดมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
(3) ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญมีการดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางการแก้ไขครบถ้วน
(4) กำหนดมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉิน
(5) ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉินมีการดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางการป้องกันครบถ้วน
  • ทะเบียนจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ เอกสารแนบ(GO) 1.3.2(1)

ประเด็น 1.4: กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
1.4.1: มีการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน
(1) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการรวบรวม กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
(2) จัดทำรายการกฎหมายที่ครอบคลุม ปัญหาสิ่งแวดล้อมและบริบทของ สำนักงาน
(3) สามารถระบุแหล่งที่มาของกฎหมาย และข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้
(4) สามารถระบุความเกี่ยวข้องของกฎหมายกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
(5) กฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นปัจจุบัน
(6) มีการรวบรวมและทบทวนกฎหมาย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
หมายเหตุ สำนักงานจะต้องค้นหากฎหมายท้องถิ่นเพิ่มเติม
  • มีการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน เอกสารแนบ(GO)1.4.1
  • แผนการดำเนินงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว (Green Library) และรักษ์สิ่งแวดล้อม เอกสารแนบ(GO) 1.4.1(6)
1.4.2: ประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน โดยมีการดำเนินการดังนี้
(1) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อม
(2) มีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายครบถ้วน
(3) มีการอ้างอิงหลักฐานการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างครบถ้วนและถูกต้องกรณีที่พบว่าการดำเนินงานไม่สอดคล้องกับกฎหมาย จะต้องมีการวิเคราะห์สาเหตุ และกำหนดแนวทางการแก้ไข (ถ้ามี)
(4) มีการกำหนดความถี่ในการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่เหมาะสมและมีการปฏิบัติตามที่กำหนดได้
  • แผนการดำเนินงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว (Green Library) และรักษ์สิ่งแวดล้อม เอกสารแนบ(GO) 1.4.2(4)

ประเด็น 1.5: ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
1.5.1: การเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในสำนักงาน จะต้องประกอบไปด้วย
(1) ปริมาณการใช้ไฟฟ้า
(2) ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงสำหรับการเดินทาง
(3) ปริมาณการใช้น้ำประปา
(4) ปริมาณการใช้กระดาษ
(5) ปริมาณการเกิดของเสีย (ฝังกลบ)
(โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor ; EF) ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกล่าสุด)
1.5.2: ปริมาณก๊าซเรือนกระจกบรรลุเป้าหมาย
กรณีบรรลุเป้าหมาย
(1) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
(1) มีการวิเคราะห์สาเหตุในกรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมาย
(2) มีแนวทางการแก้ไขในกรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมาย
(3) มีการติดตามผลหลังแก้ไข
1.5.3: ร้อยละของบุคลากรมีความเข้าใจและการรับรู้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงาน โดยจะต้องสอบถามดังนี้
(1) ความสำคัญของก๊าซเรือนกระจกกับการทำสำนักงานสีเขียว
(2) แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
(3) ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย

หมายเหตุ
1. บุคลากรที่ถูกสอบถามจะต้องอธิบายให้ได้ทั้ง 3 ข้อ
2. สอบถามบุคลากร 4 คนขึ้นไป

ประเด็น 1.6: แผนงานโครงการที่นำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
1.6.1: 1.6.1 การกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมาย และโครงการสิ่งแวดล้อมจะต้องมีการดำเนินการดังนี้
(1) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย จะต้องสอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อมหรือปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญหรือกฎหมายสิ่งแวดล้อม
(2) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย สามารถวัดผลได้
(3) กิจกรรม/นวัตกรรมที่กำหนดในโครงการสิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
(4) ระยะเวลาการทำโครงการมีความเหมาะสม
(5) โครงการมีการกำหนดผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน และจะต้องมีความเข้าใจ
1.6.2: ผลสำเร็จของวัตถุประสงค์และเป้าหมาย แนวทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
(1) มีแผนการดำเนินโครงการหรือนวัตกรรมที่ชัดเจน
(2) ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง
(3) มีการกำหนดความถี่ในการติดตามผลและปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง
(4) มีการติดตามความก้าวหน้าของโครงการ
(5) ดำเนินการเสร็จสิ้นและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด / กรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมายมีการทบทวนเพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข
(6) มีการกำหนดแนวทางเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนหลังบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด

ประเด็น 1.7: การตรวจประเมินภายใน (สำหรับหน่วยงานต่ออายุและขอยกระดับ สำนักงานสีเขียวและห้องสมุดสีเขียว)

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
1.7.1: การวางแผนและดำเนินการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน
(1) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน ประกอบด้วย หัวหน้าผู้ตรวจประเมินและผู้ตรวจประเมินซึ่งจะต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว และ
หลักสูตรการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว
(2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(3) มีการจัดทำข้อกำหนดการตรวจประเมินภายในครอบคลุมทุกหมวด
(4) กำหนดผู้ตรวจประเมินภายในแต่ละหมวดมีความเพียงพอและเหมาะสมมีความเป็นอิสระในการตรวจประเมินอย่างชัดเจน
(5) การดำเนินการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงานครบถ้วนทุกหมวด

ประเด็น 1.8: การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
1.8.1: การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร
(1) มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม
(2) มีตัวแทนของแต่ละฝ่าย/แผนก/ส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในแต่ละหมวดเข้าร่วมประชุม
(3) จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมจะต้องมากกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ที่เป็นคณะกรรมการสำนักงานสีเขียวพร้อมหลักฐานการลงนามเข้าร่วมประชุม
(4) หากผู้ที่จะต้องเข้าประชุมไม่สามารถเข้าร่วมได้ จะต้องมีวิธีการรายงานผลการประชุมให้รับทราบ พร้อมรับข้อเสนอแนะ
1.8.2: มีการกำหนดวาระการประชุมและทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารดังนี้
(1) มีการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(2) วาระที่ 1 การติดตามผลการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารที่ผ่านมา
(3) วาระที่ 2 นโยบายสิ่งแวดล้อม
(4) วาระที่ 3 ความมีประสิทธิภาพของคณะกรรมการหรือทีมงานด้าน
สิ่งแวดล้อม (ความเพียงพอและความเหมาะสม)
(5) วาระที่ 4 การติดตามผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การสื่อสารและข้อคิดเห็นด้าน สิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมายรวมถึงแนวทางการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนา
(6) วาระที่ 5 การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
(7) วาระที่ 6 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุมและวิสัยทัศน์ แนวคิดของผู้บริหารของการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวอย่างต่อเนื่อง
(8) จัดทำรายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร และภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นว่ามีการประชุมจริง
  • แผนการดำเนินงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว (Green Library) และรักษ์สิ่งแวดล้อม เอกสารแนบ(GO) 1.8.2(1)

หมวดที่ 2: การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก

ประเด็น 2.1: การอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
2.1.1: กำหนดแผนการฝึกอบรมดำเนินการอบรม การประเมินผล และบันทึกประวัติการฝึกอบรม
(1) ระบุหลักสูตรและความถี่การอบรมลงในแผนการฝึกอบรม โดยหลักสูตรครอบคลุมเนื้อหามีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
- ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว
- การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
- การจัดการมลพิษและของเสีย
- การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- ก๊าซเรือนกระจก
(2) ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนการฝึกอบรมในข้อ (1) โดยผู้รับการอบรมจะต้องมากกว่าร้อยละ 80ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละหลักสูตร
(3) ประเมินผลการฝึกอบรม เช่นข้อสอบ หรือการประเมินขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น
(4) จัดทำประวัติการอบรมของพนักงาน
  • กำหนดแผนการฝึกอบรม-ดำเนินการอบรม-การประเมินผล-และบันทึกประวัติการฝึกอบรม เอกสารแนบ(GO)2.1.1
  • แบบประเมินความรู้หลังการอบรมสำนักงานสีเขียว Green Office เอกสารแนบ(GO) 2.1.1(3)
  • ใบลงทะเบียนและประเมินผลบุคลากร เอกสารแนบ(GO) 2.1.1(2)
  • ใบลงทะเบียนและประเมินผลบุคลากร เอกสารแนบ(GO) 2.1.1(3)
  • ประวัติการอบรมของบุคลากร เอกสารแนบ(GO) 2.1.1(4)
  • ประวัติการอบรมของบุคลากร เอกสารแนบ(GO) 2.1.1(4)
  • หลักสูตรและแผนการฝึกอบรมประจำปี 2567 เอกสารแนบ(GO) 2.1.1(1)
  • เอกสารการอบรม เอกสารแนบ(GO) 2.1.1(2)
2.1.2: กำหนดผู้รับผิดชอบด้านการอบรมแต่ละหลักสูตรมีความเหมาะสม
(1) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องเข้าใจเนื้อหาในการอบรม
(2) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องมีหลักฐานแสดงความสามารถ เช่นใบรับรองจากหน่วยงานภายนอกหรือ ประวัติ หรือประสบการณ์(อย่างใดอย่างหนึ่ง)
  • ประวัติวิทยากร เอกสารแนบ(GO) 2.1.2

ประเด็น 2.2: การรณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่บุคลากร

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
2.2.1: มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน
(1) กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสารอย่างน้อย ดังนี้
1. นโยบายสิ่งแวดล้อม | ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
2. ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญและการจัดการ | ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
3. การปฏิบัติตามกฎหมาย | ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
4. ความสะอาดและความเป็นระเบียบ (5ส.) | ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
5. เป้าหมายและมาตรการพลังงาน-ทรัพยากร (ได้แก่น้ำ ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม กระดาษ และอื่นๆ) | ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
6. เป้าหมายและมาตรการจัดการของเสีย | ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
7. ผลการใช้ทรัพยากรพลังงาน และของเสีย | ทุกเดือน
8.สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม | ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
9. ก๊าซเรือนกระจก | ทุกเดือน

(2) กำหนดช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร (ไม่จำกัดจำนวนช่องทาง)
(3) กำหนดกลุ่มเป้าหมายรับเรื่องสื่อสาร(ผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในและภายนอกสำนักงาน)
(4) กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร
  • มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม เอกสารแนบ(GO)2.2.1
  • แผนการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ประจำปี พ.ศ.2567 เอกสารแนบ(GO) 2.2.1
2.2.2: มีการรณรงค์สื่อสารและให้ความรู้ตามที่กำหนดในข้อ 2.2.1
2.2.3: ร้อยละความเข้าใจนโยบายสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (สุ่มอย่างน้อย 4 คน)โดยจะต้องสอบถามพนักงานแต่ละคนอย่างน้อยตามข้อ 2.2.1 (1)
2.2.4: มีช่องทางรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม และนำมาปรับปรุงแก้ไข โดยต้องมีแนวทางดังนี้
(1) มีช่องทางเพื่อรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ไลน์QR Code การประชุม เว็บไซต์
(2) มีผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น
(3) มีการแสดงข้อเสนอแนะด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการ
(4) มีการรายงานข้อเสนอแนะและการจัดการแก่ผู้บริหาร (บรรยายให้เหมาะสม)
  • ช่องทางและผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ เอกสารแนบ(GO) 2.2.4(1)-(2)

หมวดที่ 3: การใช้ทรัพยากรและพลังงาน

ประเด็น 3.1: การใช้น้ำ

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
3.1.1: มาตรการหรือแนวทางใช้น้ำมีความเหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
(1) การสร้างความตระหนักในการใช้น้ำ
(2) การกำหนดเวลาการใช้น้ำ เช่น เวลารดน้ำต้นไม้ เป็นต้น
(3) การกำหนดรูปแบบการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่
(4) การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดน้ำ
  • มาตรการหรือแนวทางใช้น้ำ เอกสารแนบ(GO)3.1.1
  • ประกาศมาตรการประหยัดพลังงานและรักษ์สิ่งแวดล้อม เอกสารแนบ(GO) 3.1.1
3.1.2: มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมายการเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
(1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำแต่ละเดือน
(2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วย
(3) บรรลุเป้าหมาย
(4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
(1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำแต่ละเดือน
(2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วย
(3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจำนวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรมหรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น
3.1.3: ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการประหยัดน้ำในพื้นที่ทำงาน(ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)

ประเด็น 3.2: การใช้พลังงาน

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
3.2.1: มาตรการหรือแนวทางการใช้ไฟฟ้าเหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
(1) การสร้างความตระหนักในการใช้ไฟฟ้า
(2) การกำหนดเวลาการใช้ไฟฟ้า เช่น เวลาการเปิด - ปิด เป็นต้น
(3) การใช้พลังงานทดแทน
(4) การเปลี่ยนอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า
  • มาตรการหรือแนวทางการใช้ไฟฟ้า เอกสารแนบ(GO)3.2.1
  • ประกาศมาตรการประหยัดพลังงานและรักษ์สิ่งแวดล้อม เอกสารแนบ(GO) 3.2.1
3.2.2: มีการจัดทำข้อมูลการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมายการเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
(1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน
(2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย
(3) บรรลุเป้าหมาย
(4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
(1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าแต่ละเดือน
(2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วย
(3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนว

ทางแก้ไข
หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจำนวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรมหรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น
3.2.3: ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการประหยัดไฟฟ้าในพื้นที่ทำงาน
3.2.4: มาตรการหรือแนวทางการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางที่เหมาะสมกับสำนักงาน ดำเนินการดังนี้
(1) การสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(2) การวางแผนการเดินทาง
(3) การซ่อมบำรุงดูแลยานพาหนะ
(4) การใช้จักรยานหรือขนส่งสาธารณะมาทำงาน
  • มาตรการหรือแนวทางการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางที่เหมาะสมกับสำนักงาน เอกสารแนบ(GO)3.2.4
  • ประกาศมาตรการประหยัดพลังงานและรักษ์สิ่งแวดล้อม เอกสารแนบ(GO) 3.2.4
3.2.5: มีการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมาย
การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
(1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละเดือน
(2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วย
(3) บรรลุเป้าหมาย
(4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
(1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแต่ละเดือน
(2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต่อหน่วย
(3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจำนวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรมหรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ หรือเปรียบเทียบต่อระยะทาง เป็นต้น

ประเด็น 3.3: การใช้ทรัพยากรอื่นๆ

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
3.3.1: มาตรการหรือแนวทางการใช้กระดาษที่เหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
(1) การสร้างความตระหนักในการใช้กระดาษ
(2) การกำหนดรูปแบบการใช้กระดาษ
(3) การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
(4) การนำกระดาษกลับมาใช้ใหม่
  • มาตรการหรือแนวทางการใช้กระดาษ เอกสารแนบ(GO)3.3.1
  • ประกาศมาตรการประหยัดพลังงานและรักษ์สิ่งแวดล้อม เอกสารแนบ(GO) 3.3.1
3.3.2: มีการจัดทำข้อมูลการใช้กระดาษต่อหน่วยเปรียบเทียบกับเป้าหมายการเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
(1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือน
(2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษต่อหน่วย
(3) บรรลุเป้าหมาย
(4) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
(1) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษแต่ละเดือน
(2) มีการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้กระดาษต่อหน่วย
(3) มีการวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไข

หมายเหตุ การเปรียบเทียบข้อมูลสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน่วย เช่น เปรียบเทียบต่อจำนวนพนักงาน หรือเปรียบเทียบต่อกิจกรรมหรือเปรียบเทียบต่อพื้นที่ เป็นต้น
3.3.3: ร้อยละของการปฏิบัติตามมาตรการประหยัดกระดาษในพื้นที่ทำงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)
3.3.4: มาตรการหรือแนวทางการใช้หมึกพิมพ์ อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์เหมาะสมกับสำนักงานจะต้องประกอบไปด้วย รายละเอียดดังนี้
(1) การสร้างความตระหนักในการใช้
(2) การกำหนดรูปแบบการใช้
(3) การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
3.3.5: ร้อยละของการดำเนินตามมาตรการประหยัดการใช้หมึกพิมพ์อุปกรณ์เครื่องเขียน วัสดุอุปกรณ์สำนักงาน (ประเมินจากพฤติกรรมของบุคลากรในพื้นที่)

ประเด็น 3.4: การประชุมและการจัดนิทรรศการ

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
3.4.1: ร้อยละของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการส่งข้อมูลเพื่อเตรียมการประชุม ได้แก่ QR code,Email, Social Network, Intranetเป็นต้น
3.4.2: การจัดการประชุมและนิทรรศการที่มีการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากร -พลังงาน และลดของเสียที่เกิดขึ้นจะต้องดำเนินการดังนี้
(1) การจัดเตรียมขนาดห้องประชุมเหมาะสมกับจำนวนผู้เข้าประชุมหรือจัดนิทรรศการ
(2) ห้องประชุมหรือพื้นที่จัดนิทรรศการไม่มีการตกแต่งด้วยวัสดุที่ย่อยสลายยาก หรือวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
(3) การกำหนดแนวทางเลือกสถานที่ภายนอกสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(4) การจัดเตรียมสื่อที่ใช้ในการประชุมโดยจะต้องลดการใช้กระดาษ หมึกพิมพ์
(5) การจัดเตรียมอาหาร และเครื่องดื่มเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • ประกาศมาตรการประหยัดพลังงานและรักษ์สิ่งแวดล้อม เอกสารแนบ(GO) 3.4.2

หมวดที่ 4: การจัดการของเสีย

ประเด็น 4.1: การจัดการของเสีย

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
4.1.1: มีการดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่างเหมาะสม มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
(1) มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงานและจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่างๆ
อย่างเหมาะสมทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
(2) มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและชัดเจนทุกถังที่สุ่มตรวจสอบ
(3) มีจุดพักขยะที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยจะต้องมีพื้นที่รองรับขยะแต่ละประเภทจากข้อ (1) อย่างเพียงพอ
(4) มีการทิ้งขยะถูกต้องทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
(5) มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
(6) มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ(กรณีส่งให้ อปท.ให้ถือว่ามีการจัดการอย่างเหมาะสม)
(7) ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน (ยกเว้นเตาเผาที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้อง)
4.1.2: การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์หรือนำกลับมาใช้ใหม่ ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง
(1) มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่
(2) มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภทครบถ้วนทุกเดือน
(3) มีการวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบค่าเป้าหมายที่ได้กำหนดจากหมวด 1ข้อ 1.1.5
(4) ปริมาณขยะที่ส่งกำจัดมีแนวโน้มลดลง

ประเด็น 4.2: การจัดการน้ำเสีย

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
4.2.1: การจัดการน้ำเสียของสำนักงานและคุณภาพน้ำทิ้งจะต้องอยู่ในมาตรฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยมีแนวทาง ดังนี้
(1) การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย และจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
(2) มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่น มีตะแกรงดักเศษอาหาร มีบ่อดักไขมัน หรือมีระบบบำบัดน้ำเสียเหมาะสมกับองค์ประกอบของน้ำเสีย
(3) มีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย
(4) มีผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
4.2.2: การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียโดยมีแนวทางดังนี้
(1) มีการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย หรือมีการตักและทำความสะอาดเศษอาหาร และไขมันออกจากตะแกรงดักขยะ หรือบ่อดักไขมัน ตามความถี่ที่กำหนดอย่างเหมาะสมกับปริมาณและการปนเปื้อน
(2) มีการนำกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย หรือเศษอาหาร น้ำมันและไขมันจากถัง/บ่อดักไขมันไปกำจัดอย่างถูกต้อง
(3) มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถใช้งานและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
(4) มีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่นๆ

หมวดที่ 5: สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย

ประเด็น 5.1: อากาศในสำนักงาน

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
5.1.1: การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน
(1) มีแผนการดูแลบำรุงรักษา ได้แก่เครื่องปรับอากาศ รถยนต์ ปั๊มดูดน้ำปั๊มดับเพลิง เครื่องถ่ายเอกสารเครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer) พรมปูพื้นห้อง (ขึ้นอยู่กับสำนักงาน)
(2) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบตามแผนการดูแลบำรุงรักษา
(3) มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดในข้อ 1
(4) มีการควบคุมมลพิษทางอากาศและใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพจากการปฏิบัติในข้อ 1
(5) การจัดวางเครื่องพิมพ์เอกสารเครื่องถ่ายเอกสาร (Printer) ให้ห่างไกลผู้ปฏิบัติงาน
(6) การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน เช่น ติดป้ายดับเครื่องยนต์
(7) การป้องกันอันตรายจากการพ่นยากำจัดแมลง (ถ้ามี)
(8) มีการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษทางอากาศจากกิจกรรมต่างๆ เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย(สามารถพิจารณาจากเอกสารหรือภาพถ่ายเป็นหลักฐานประกอบ)
  • มีแผนการดูแลบำรุงรักษา เอกสารแนบ(GO)5.1.1
  • แผนการบำรุงรักษา ประจำปี 2567 เอกสารแนบ(GO)5.1.1(1)-(2)
5.1.2: มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนดพื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสมและปฏิบัติตามที่กำหนด
(1) มีการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่
(2) มีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่
(3) มีการติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่
(4) เขตสูบบุหรี่จะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อยู่บริเวณข้างเคียง ไม่อยู่ในบริเวณทางเข้า – ออกของสถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่ในบริเวณที่เปิดเผยอันเป็นที่เห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น
(5) ไม่พบการสูบบุหรี่ หรือก้นบุหรี่นอกเขตสูบบุหรี่
5.1.3: การจัดการมลพิษทางอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุง อาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
(1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการมลพิษทางอากาศจากการก่อสร้างปรับปรุงอาคาร
(2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ (1)แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้
- มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
- มีที่กั้นเพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศที่จะส่งผลกระทบกับพนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
- มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือนเพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย
  • ประกาศมาตรการประหยัดพลังงานและรักษ์สิ่งแวดล้อม เอกสารแนบ(GO) 5.1.3

ประเด็น 5.2: แสงในสำนักงาน

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
5.2.1: มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง (โดยอุปกรณ์การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างที่ได้มาตรฐาน) และดำเนินการแก้ไขตามที่มาตรฐานกำหนด
(1) มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างประจำปี พร้อมแสดงหลักฐานผลการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างเฉพาะจุดทำงานแลพื้นที่ทำงาน
(2) เครื่องวัดความเข้มของแสงสว่างจะต้องมีมาตรฐานและได้รับการสอบเทียบ(แสดงหลักฐานใบรับรอง)
(3) ผลการตรวจวัดจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด
(4) ผู้ที่ตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

ประเด็น 5.3: เสียง

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
5.3.1: การควบคุมมลพิษทางเสียงภายในอาคารสำนักงาน
(1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน
(2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ (1) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน
  • ประกาศมาตรการประหยัดพลังงานและรักษ์สิ่งแวดล้อม เอกสารแนบ(GO) 5.3.1
5.3.2: การจัดการเสียงดังจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
(1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่เกิดจากการก่อสร้างปรับปรุงอาคาร
(2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ (1)

แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้
- มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
- มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือนเพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย
  • ประกาศมาตรการประหยัดพลังงานและรักษ์สิ่งแวดล้อม เอกสารแนบ(GO) 5.3.2

ประเด็น 5.4: ความน่าอยู่

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
5.4.1: มีการวางแผนจัดการความน่าอยู่ของสำนักงานโดยจะต้องดำเนินการดังนี้
(1) จัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคารและนอกอาคาร โดยจะต้องกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน เช่นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่สีเขียวพื้นที่ส่วนรวม และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น สามารถสื่อสารด้วยป้ายหรืออื่นๆ ที่เหมาะสมเพื่อบ่งชี้
(2) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างเหมาะสมทั้งพื้นที่เฉพาะ และพื้นที่ทั่วไป ทั้งในอาคารและนอกอาคาร
(3) มีการกำหนดเวลาในการดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งพื้นที่เฉพาะ และพื้นที่ทั่วไป ทั้งในอาคารและนอกอาคาร
(4) การกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และคงรักษาไว้ของสำนักงานรวมไปถึงมีการปฏิบัติจริงตามแผนงาน
  • แผนการดูแลพื้นที่ของสำนักงาน เอกสารแนบ(GO)5.4.1
  • แผนการดูแลพื้นที่ของสำนักงาน เอกสารแนบ(GO) 5.4.1
5.4.2: ร้อยละการใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงานกำหนด
5.4.3: ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น
5.4.4: มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคและดำเนินการได้ตามที่กำหนด
(1) มีการกำหนดแนวทางการป้องกันสัตว์พาหะนำโรคในสำนักงานอย่างเหมาะสม ได้แก่ นกพิราบ หนูแมลงสาบ และอื่นๆ
(2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรคอย่างน้อยที่สุดเดือนละ 1 ครั้ง
(3) มีการตรวจสอบร่องรอยตามความถี่ที่ได้กำหนด (เฉพาะตอนกลางวัน)
(4) มีแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการเมื่อพบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค
(5) ไม่พบร่องรอยหรือสัตว์พาหะนำโรคในระหว่างการตรวจประเมิน

หมายเหตุ การควบคุมสัตว์พาหะนำโรคสำนักงานสามารถควบคุมและจัดการได้เอง หรือว่าจ้างหน่วยงานเฉพาะมาดำเนินการแทน
  • มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค เอกสารแนบ(GO)5.4.4
  • แผนการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค เอกสารแนบ(GO) 5.4.4 (1)(2)(4)

ประเด็น 5.5: การเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
5.5.1: การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟตามแผนที่กำหนด
(1) มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ
(2) จำนวนคนเข้าอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้นจะต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40ของพนักงานแต่ละแผนกหรือส่วนงาน
(3) พนักงานทุกคนจะต้องเข้าฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง(พิจารณาพนักงานหรือผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่อยู่ประจำพื้นที่สำนักงานที่มีการฝึกซ้อมเท่านั้น)
(4) มีการอบรมดับเพลิงขั้นต้นตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่นใบรับรองการอบรม ภาพถ่าย เป็นต้น
(5) มีการฝึกซ้อมอพยพตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่นใบรับรอง ภาพถ่าย เป็นต้น
(6) มีการกำหนดจุดรวมพลที่สามารถรองรับได้ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน
(7) มีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ ธงนำทางหนีไฟ ไปยังจุดรวมพล พร้อมสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน
(8) มีการกำหนดทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน
  • มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ เอกสารแนบ(GO)5.5.1
  • หลักสูตรและแผนการฝึกอบรมประจำปี 2567 เอกสารแนบ(GO) 5.5.1(1)
5.5.2: มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม และร้อยละของพนักงานที่เข้าใจแผนฉุกเฉิน(สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)
5.5.3: ความเพียงพอและการพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย และระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และร้อยละของพนักงานทราบวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ดังกล่าว (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)
(1) มีการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง
- ถังดับเพลิงมีเพียงพอต่อการใช้งาน(กำหนดระยะห่าง อย่างน้อย 20เมตร/ถัง ตามกฎหมาย ติดตั้งสูงจากพื้นไม่เกิน 150 เซนติเมตรนับจากคันบีบ และถ้าเป็นวางกับพื้นจะต้องมีฐานรองรับ) พร้อมกับติดป้ายแสดง
- ติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง(ถ้ามี)
- สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสายฉีด ( Hose and Hose Station)(ถ้ามี)
(2) ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนและต้องพร้อมใช้งาน
- สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (พื้นที่มากกว่า 300 ตารางเมตรหรืออาคารสูงเกิน 2 ชั้นขึ้นไป)
- ติดตั้งตัวดักจับควัน (smokedetector) หรือตัวตรวจจับความร้อน (heat detector)
(3) มีการตรวจสอบข้อ (1) - (2) และหากพบว่าชำรุดจะต้องดำเนินการแจ้งซ่อมและแก้ไข
(4) พนักงานจะต้องเข้าใจถึงวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงและสัญญาณแจ้งเตือน อย่างน้อยร้อยละ75 จากที่สุ่มสอบถาม
(5) ไม่มีสิ่งกีดขวางอุปกรณ์ดับเพลิง และสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

หมวดที่ 6: การจัดซื้อและจัดจ้าง

ประเด็น 6.1: การจัดซื้อสินค้า

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
6.1.1: การจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(1) กำหนดผู้รับผิดชอบ และมีความเข้าใจ
(2) ค้นหารายการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถระบุแหล่งข้อมูลสืบค้นได้
(3) จัดทำบัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับสินค้าที่ใช้จริงในสำนักงาน โดยจะต้องระบุรายการสินค้ายี่ห้อฉลากสิ่งแวดล้อม วันหมดอายุการรับรองของสินค้านั้น หากเป็นฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศจะต้องอ้างอิงหน่วยงาน/ประเทศที่ให้การรับรองนั้นๆ ด้วย
(4) แจ้งไปยังผู้ขายเพื่อขอความร่วมมือในการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรณีที่ไม่มีร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าทีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

หมายเหตุ สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ เช่นฉลากเขียว ตะกร้าเขียว ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ฉลากประสิทธิภาพสูง ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ ฉลากลดโลกร้อนสินค้า OTOP ที่มีเลขจดทะเบียน ฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เป็นต้น
  • หนังสือขอความร่วมมือในการจัดหาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เอกสารแนบ(GO) 6.1.1 (4)
6.1.2: ร้อยละของการจัดซื้อสินค้าประเภทวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหมายเหตุ ร้อยละของสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะเทียบกับปริมาณการซื้อ และ/หรือมูลค่าสินค้า
(1) แสดงรายการสินค้าสำนักงานที่จัดซื้อทั้งหมดโดยระบุยี่ห้อ และรุ่นสินค้า
(2) แสดงฉลากที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของสินค้า
(3) คำนวณจำนวนร้อยละสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึงรายการสินค้า ปริมาณสินค้า และมูลค่า

หมายเหตุ สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ เช่นฉลากเขียว ตะกร้าเขียว ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ฉลากประสิทธิภาพสูง ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ ฉลากลดโลกร้อนสินค้า OTOP ที่มีเลขจดทะเบียน ฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เป็นต้น
6.1.3: ร้อยละของปริมาณและประเภทของวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหมายเหตุ สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับ เช่นฉลากเขียว ตะกร้าเขียว ฉลากประหยัดไฟ เบอร์ 5 ฉลากประสิทธิภาพสูง ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ ฉลากลดโลกร้อนสินค้า OTOP ที่มีเลขจดทะเบียน ฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เป็นต้น

ประเด็น 6.2: การจัดจ้าง

ตัวชี้วัด
ผลการดำเนินงาน/เอกสารหลักฐาน
6.2.1: ร้อยละของการจัดจ้างหน่วยงานหรือบุคคลที่มีการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(1) มีหลักฐานการพิจารณาถึงมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานที่ได้การรับรองโดยจะต้องแสดงหลักฐานการรับรองดังกล่าว
(2) หากหน่วยงานไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรอง ทางสำนักงานจะต้องทำการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานเบื้องต้น
(3) มีการจัดทำสัญญาหรือข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อเข้ามาปฏิบัติงานในสำนักงาน
(4) หน่วยงานหรือบุคคลที่ได้รับคัดเลือกจะต้องได้รับการอบรมหรือสื่อสารเกี่ยวกับสำนักงานสีเขียว และแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของตนเอง
(5) หน่วยงานหรือบุคคลเหล่านั้นสามารถอธิบายแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของตนเองได้

หมายเหตุ
- หากหน่วยงานภายนอกมีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรองจะต้องพิจารณาทุกข้อ ยกเว้นข้อ (2)
- หากหน่วยงานภายนอกไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรองพิจารณาข้อ (2) - (5)
6.2.2: ร้อยละของการตรวจสอบด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือบุคคลที่เข้ามาดำเนินการ เช่น ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างช่วงแม่บ้าน รปภ. พนักงานส่งเอกสารเป็นต้น
หมายเหตุ
(1) กรณีที่เป็นการว่าจ้างให้อยู่ประจำสำนักงานจะต้องทำการประเมินอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
(2) กรณีที่เป็นการว่าจ้างไม่อยู่ประจำสำนักงาน จะต้องทำการประเมินทุกครั้งเมื่อเข้ามาปฏิบัติงานในสำนักงาน
6.2.3: ร้อยละของการเลือกใช้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (นอกสำนักงาน) ได้แก่ โรงแรม สถานที่จัดงาน หรืออื่นๆ ที่ได้มีการขึ้นทะเบียนการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
หมายเหตุ:
(1) สถานที่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี เช่น ISO14001 Green Hotel ใบไม้เขียวฉลากเขียว Green Office หรือGreen Building เป็นต้น และมีการจัดการประชุมที่คำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน และลดการก่อให้เกิดมลพิษ
(2) ในกรณีที่ไม่มีสถานที่จัดประชุมที่ได้รับการรับรองฯ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงสำนักงาน จะต้องเลือกสถานที่ที่ใช้เวลาเดินทางน้อยที่สุดและจัดประชุมในรูปแบบ GreenMeeting (ตามความเหมาะสมและเป็นไปได้) โดยจะต้องแสดงหลักฐานการคัดเลือกสถานที่เหล่านั้น